การออกแบบพื้นที่สำหรับ ห้องวิเคราะห์ บำบัดโรค Diagnostic & Treatment Department
หากพูดถึงห้องวิเคราะห์บำบัดโรคภายในโรงพยาบาลนั้น แบ่งออกได้เป็นห้องเอ็กซเรย์ห้องแลป ห้อง OR ซึ่งการออกแบบตกแต่งแต่ละห้องนั้น จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานและผู้รับบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม ควบคู่ไปกับประโยชน์ในการใช้สอยซึ่งในการออกแบบตกแต่งห้องเอ็กซเรย์นั้น จะถูกแบ่งแยกพื้นที่ให้บริการอย่างชัดเจนเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ควบคุมปริมาณรังสี เป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงจากการได้รับรังสีและพื้นที่ทั่วไป ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ใช้สอยต่างๆ สำหรับผู้ป่วย ผู้รับบริการและบุคลากรทั่วไปที่มิได้ปฏิบัติงานประจำหรือโดยตรงกับรังสี
สำหรับการออกแบบห้องเอกซเรย์ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และผู้รับบริการนั้นผนังจะต้องถูกออกแบบให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ของซีเมนต์หรือเทียบเท่าใช้วัสดุกันรังสีเพื่อกั้นรังสีโดยรอบห้องตรวจ รวมถึงสิ่งกีดขวางเพื่อกั้นรังสีต้องสามารถป้องกันอันตราย จากรังสีปฐมภูมิและทุติยภูมิได้ตามมาตรฐาน NCRP (Nation Council on Radiation Protection and Measuraments ) และควรมีการประเมินปริมาณรังสี เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ในส่งนของผนัง control booth ในห้องเอกซเรย์ต้องเป็นผนังถาวร สูงอย่างน้อย 21 เมตร และไม่ควรตั้งกั้นขวางรังสีปฐมภูมิหรือรังปฐมภูมิหรือรังสีกระเจิงสะท้อนครั้งเดียว ควรมีช่องมองที่สามารถมองเห็นผู้ป่วยระหว่างการปฏิบัติงานได้ ซึ่งช่องมองต้องเป็นวัสดุใสอย่างกระจกกันรังสีที่ต้องมีความหนาของกระจกตั้งแต่ 8 มม. ไปจนถึง 10 มม.และเป็นกระจกที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถลดทอนปริมาณรังสีจากห้องได้ และในส่วนของประตูเข้าออกห้องเอกซเรย์นั้น ต้องมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร เพื่อให้ผู้ป่วยพร้อมอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น รถนั่ง เปล สามารถผ่านเข้าออกได้สะดวกนอกจากนี้ภายในห้องตรวจทางรังสี ประตูห้องต้องบุด้วยแผ่นตะกั่ว ที่มีความหนา ไม่น้อยกว่า 2 มม. สำหรับประตูด้านที่หลอดรังสีส่อง และความหนาไม่น้อยกว่า 1 มม. สำหรับประตูด้านตรงข้ามกับที่หลอดรังสีส่อง ควรมีพื้นที่ว่างเพียงพอเพื่อให้ผู้ป่วยพร้อมอุปกรณ์สามารถหมุนรอบได้สะดวก และมีไฟที่ให้แสงสว่างอย่างน้อย 3 จุด คือแสงสว่างภายใน control booth แสงสว่างภายในห้อง และแสงสว่างสำหรับการจัดท่าผู้ป่วย นอกจากนี้ในขณะปฏิบัติงานต้องมีป้ายสัญลักษณ์แสดงบริเวณรังสี และไฟสัญญาณแสดงการใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี ติดไว้ด้านนอกเหนือประตูห้อง
ส่วนการปฏิบัติงานด้านรังสีต้องใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับรังสีมากเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควรอยู่ในห้องควบคุมนอกห้องเอกซเรย์หากมความจำเป็นต้องอยู่ในห้องเอกซเรย์ควรใส่เสื้อตะกั่ว หรือแว่นตะกั่ว และที่สำคัญในระหว่างปฏิบัติงาน ต้องปิดประตูห้องเอกซเรย์ทุกครั้ง