การออกแบบพื้นที่สำหรับห้องพักผู้ป่วย In - Patient Department
สำหรับห้องพักผู้ป่วยนั้น
เป็นห้องที่ผู้ป่วยมักจะใช้เวลาพักฟื้นรักษาตัวเป็นเวลานานกว่าห้องอื่นๆ
ภายในโรงพยาบาล ดังนั้นห้องพักผู้ป่วยจึงออกแบบให้มีความสวยงาม
และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ รู้สึกเหมือนได้นอนพักอยู่บ้าน
เป็นการพักผ่อนแบบเต็มที่ เพื่อที่จะหายจากอาการป่วยได้เร็วที่สุด
จึงทำให้การออกแบบห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่เราเห็นนั้นผ่านกระบวนการคิด ออกแบบ
วางแผน
และเลือกสรรวัสดุสำหรับตกแต่งที่ไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียวแต่ต้องมาพร้อมความปลอดภัย
มาดูกันว่าการออกแบบห้องพักผู้ป่วยนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง
เริ่มจาก...ภายในห้องพักผู้ป่วย
ความเงียบเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้นอนพักอย่างเต็มที่
ซึ่งส่งผลให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูกลับมามีสุขภาพดีดั้งเดิม
ดังนั้นผนังห้องพักจึงควรออกแบบให้มีแผ่นใยแก้วติดตั้งไว้ภายในช่องว่างระหว่างผนัง
2 ชั้น โดยสามารถใช้ได้ทั้งในระบบผนังยิปซั่ม ผนังสมาร์ทบอร์ด ผนังอิฐมวลเบา
เพื่อป้องกันเสียงภายนอกหรือเสียงระหว่างห้องได้มากถึง 6-10 DB. การเลือกใช้วัสดุสำหรับทำผนังนั้นต้องอยู่ภายใต้ความแข็งแรง
ดูแลรักษาร่างกาย มีผิวเรียบ และทนต่อการเช็ดถูทำความสะอาด นอกจากนี้ในส่วนของพื้นห้องเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ
เพราะวัสดุที่เลือกใช้ต้องมีผิวพื้นเรียบ ไม่ลื่น ไม่เก็บฝุ่น
ทำความสะอาดและดูแลรักษาร่างกาย
และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าห้องพักผู้ป่วยนั้นมีการใช้งานอยู่ตลาดเวลา
และรวมไปถึงเครื่องปรับอากาศภายในห้องก็ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ด้วยเช่นกันซึ่งการเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลานั้น
อาจก่อให้เกิดความชื้นภายในห้องได้
ดังนั้นห้องพักผู้ป่วยจึงถูกออกแบบให้มีการกระจายการหมุนเวียนของอากาศภายในห้อง
เพื่อให้อากาศใหม่ผสมกับอากาศเดิมภายในห้องมากที่สุด ซึ่งทำไม่ให้เกิดจุดอับ
ทำให้การจัดเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องมือต่างๆภายในห้อง จะต้องไม่กีดขวางกระแสลม
นอกจากนี้โดยรอบห้องจำเป็นต้องอุดกันการรั่วซึมของอากาศในทุกจุก
โดยเฉพาะบริเวณวงกบรอบประตูต้องมีการติดประเก็นกันการรั่วของอากาศระหว่างประตูกับวงกบส่วนบน
และด้านข้างทั้งสองด้าน ยกเว้นช่องว่างใต้ประตูเข้าห้องอาจมีช่องว่างได้ไม่เกิน
1/2 นิ้ว
เพื่อให้อากาศใต้ประตูเข้ามาชดเชยอากาศที่ถูกดุดออกในปริมาณที่สูงกว่าการนำอากาศเข้า
และประตูห้องพักควรเป็นบานเปิดคู่ หรือบานเลื่อนมีขนาดบานกว้างรวมไม่น้อยกว่า 1.20
เมตร เพื่อให้การสัญจรของเปลนอนและรถเข็นเดินทางได้สะดวก พร้อมติดวัสดุป้องกันการกระแทกที่ประตู
นอกจากนี้ห้องน้ำภายในห้องพักผู้ป่วย
ควรมีแรงดันต่ำกว่าห้องพัก เพื่อให้อากาศไหลจากห้องผู้ป่วยเข้าสู่ห้องน้ำ
และวัสดุที่เลือกใช้สำหรับพื้นต้องมีผิวพื้นที่เรียบ ไม่ลื่น
และไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อรา หรือเชื้อโรคได้ง่าย รวมถึงมีรวมพยุงตัวติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม
และแสงสว่างภายในห้องน้ำต้องให้แสงสว่างที่พอเหมาะ