การออกแบบพื้นที่สำหรับห้องผ่าตัด และห้องไอซียุ                                        Diagnostic & Treatment Department

          ถ้าพูดถึงห้องผ่าตัด และห้องไอซียู เป็นที่รู้กันว่าเป็นสถานที่ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด และตรวจพิเศษ ซึ่งทั้งสองห้องนี้ต้องเป็นห้องที่สะอาดปลอดเชื้อเป็นพิเศษ เพื่อให้บริการทุกคนปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์และฟื้นตัวในเวลาที่เหมาะสมสามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้บริการ

          การออกแบบห้องผ่าตัด และห้องไอซียู ต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญเรื่องการควบคุมการติดเชื้อ ความปลอดภัย และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพแต่การจะทำให้ห้องผ่าตัด และห้องไอซียู เป็นห้องสะอาดปลอดเชื้อได้นั้นต้องกำหนดและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเพื่อใช้เป็นห้องปลอดเชื้อโรค

          เริ่มจากผิวพื้นภายในห้อง ควรเลือกใช้วัสดุที่เป็นผิวเรียบ ไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน ที่ก่อให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง น้ำ หรือสารคัดหลั่ง ตามซอกมุมต่างๆและกันการดูดซึมของสิ่งสกปรก เพื่อเป็นการป้องกันการเพาะเชื้อโรค เชื้อราและแบคทีเรีย ที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อต่างๆได้ ดังนั้นวัสดุที่เลือกใช้จะต้องสามารถทำความสะอาดได้ง่าย มีพื้นผิวไม่ลื่น เพื่อป้องกันอันตรายจาการลื่นล้ม และมีความหมายต่อกรด ด่าง ทนทานต่อการขัดสีได้ดี เนื่องจากต้องผ่านการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นกรด นอกจากนี้ยังต้องรับน้ำหนักได้ดี เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น เตียงผ่าตัด เครื่องเอกซเรย์ รวมถึงมีระบบป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต เพื่อป้องกันการระเบิดจากยาสลบบางชนิดที่ติดไฟง่าย นอกจากนี้ผิวพื้นต้องเป็นวัสดุที่ไม่สะท้อนแสงอย่างไวนิลที่ไร้รอยต่อ กระเบื้องยาง แอสฟัลท์ หรือเทอราซโซ รวมถึงซิลิโคนที่นำมาใช้ต้องเป็นแบบกันเชื้อราได้

          ในส่วนของผนังต้องเป็นวัสดุเรียบเช่นกัน ไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และต้องดูซับเสียงได้ดี ส่วนสีที่ใช้บริเวณผนังโดยมากจะเป็นสีอ่อนๆ อย่างสีฟ้า สีเขียว สำหรับเพดานต้องเป็นวัสดุที่ป้องกันการเกิดเชื้อราดำบนฝ้าเพดาน ผิวมีลักษณะเรียบ ไม่มีรูพรุน ทนไฟได้ดี นอกจากนี้เพดานของห้องควรสูงอย่างน้อย 3 เมตร และสีที่ใช้ทาเพดานควรเป็นสีขาว เพราะสามารถสะท้อนแสงได้ร้อยละ 90 ซึ่งจะทำให้สังเกตเห็นรอยด่าง ชื้น หรือเชื้อราได้ง่าย

          การปรับอากาศและระบายอากาศของห้องไอซียู และห้องผ่าตัดนั้น ระบบปรับอากาศต้องสามารถหมุนเวียนอากาศภายในห้องไอซียูได้จำนวนไม่น้อยกว่า 6 เท่า (วสท.) ของปริมาณห้องต่อชั่วโมง นอกจากนี้ระบบปรับอากาศสามารถปรับอุณหภูมิได้ในช่วง 21-27 องศา รวมถึงต้องรักษาความต้องการของห้องให้เป็นบวก และเปิดระบบปรับอากาศตลอดเวลาแม้ไม่มีการใช้งาน โดยสามารถปรับอุณหภูมิห้องสูงขึ้น ลดอัตราการหมุนเวียนอากาศตามความเหมาะสม เพื่อประหยัดพลังงาน และควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้น้อยกว่า 60% เพื่อลดการเกิดเชื้อราที่ผนังและฝ้าเพดาน

Visitors: 59,096