ห้องแยกโรค (Isolation Room)
ห้องแยกโรคสำคัญอย่างไร
- สภาพอากาศประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ง่ายต่อการระบาดของโรค
- ป้องกันการระบาดของโรคไม่ให้ลุกลามไปได้อย่างรวดเร็ว
- ป้องกันการติดต่อของเชื้อระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
- ป้องกันการข้ามสายพันธุ์ของเชื้อโรค (จากคนสู่คน, จากสัตว์สู่คน)
ประเภทห้องผู้ป่วย
1.ห้องแรงดันอากาศปกติ
- สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาติดเชื้อง่ายและแพร่เชื้อ
2.ห้องแรงดันอากาศภายในห้องสูงกว่าภายนอก (Positive Pressure)
-สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องภูมิแพ้หรือรับเชื้อได้ง่ายแต่ไม่ใช่โรคติดต่อ
3.ห้องแรงดันอากาศภายในห้องต่ำกว่าภายนอก (Negative Pressure)
- สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้อสู่อีกคนได้
ระบบระบายอากาศของห้องแยกโรค
อยู่ในประเภทห้องที่มีแรงดันอากาศต่ำกว่าภายนอก (Negative Pressure) เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งมีแนวทางลดความเสี่ยงได้ 2 แนวทาง คือ
1.เจือจาง (Dilute)
2.การนำออก (Removal)
หลักการระบายอากาศของห้องแยกโรค
1.ทิศทางกระแสลม
อากาศไหลจากที่สะอาดผ่านบุคลากรทางการแพทย์ไปยังผู้ป่วย
2.การกระจายหมุนเวียนของอากาศ
- ให้อากาศใหม่ผสมกับอากาศเดิมภายในห้องมากที่สุด
- ควรจัดเครื่องเรือนเครื่องใช้ภายในห้องอย่าให้มีสิ่งกีดขวางกระแสลมจากหัวจ่าย
- มีอัตราหมุนเวียนของอากาศที่เหมาะสมในการดึงอนุภาคปนเปื้อนออกจากห้อง
ตาราง แสดงเวลาที่ใช้เพื่อดึงอนุภาคปนเปื้อนออกจากห้องผู้ป่วยเป็นนาทีเมื่อเปลี่ยนอัตราหมุนเวียนอากาศภายในห้อง (ACH)
3.หัวจ่ายลมออก
- ช่องดูดอากาศควรอยู่เหนือพื้นห้องประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 ซม.
- ท่อดูดลมในแนวตั้งควรมีความเร็วลมอยู่ที่ 1,000 ฟุตต่อนาที ห่างจากจุดที่ผู้คนเดินผ่าน 25 ฟุตขึ้นไป (กรณีไม่มีแผงอากาศ)
- หากมีการกรองอากาศก่อนออกจากห้องจะต้องผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูงที่กรองฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอน ได้น้อยกว่า 99.99%
4.ปริมาณลมหมุนเวียนภายในห้อง
- กำหนดอากาศหมุนเวียนมากกว่าที่ 15 รอบต่อชั่วโมง (15 Air Change Per Hour) แต่ไม่ควรจะน้อยกว่า 6 รอบต่อชั่วโมง
6.โดยรอบห้องจำเป็นต้องมีการอุดกันการรั่วซึมของอากาศ
- อาจมีช่องว่างได้ไม่เกิน 1/2 นิ้ว อากาสใต้ประตูจะชดเชย (Offset) อากาสที่ถูกดูดออกในปริมาณที่สูงกว่าการนำเข้าอากาศ จึงทำให้ห้องแรงดันเป็นลบ (Negative Pressure) ความเร็วลมที่ผ่านเข้สทางใต้ประตู ไม่ควรจะต่ำกว่า 100 ฟุต/นาที
7.ห้องแยกเดี่ยวผู้ป่วยควรมีห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยในตัว
- เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคอันเนื่องมาจากผู้ป่วยต้องออกจากห้องไปใช้ห้องน้ำรวม
8.ฝ้าเพดานของห้องควรเป็นแบบฝ้าฉาบเรียบ และอุดกันรั่วซึมของอากาศ
- ไม่ควรใช้ฝ้าแบบเคลื่อนย้ายได้ส่วนโคมไฟควรใช้แบบติดตั้งที่ผิวฝ้าเพดาน
9.พัดลมที่ดูดอากาศควรอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับปล่องทางออก
- เพื่อให้มั่นใจว่าท่อลมดูดอากาศออกจากห้องจะมีแรงดันเป็นลบหรือต่ำกว่าบรรยากาศภายนอกเพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายอันเนื่องมาจากท่อลมรั่ว
10.ควรแยกระบบท่อลมเข้าและท่อลมออกเฉพาะ
- ท่อลมสำหรับห้องแยกโรคแรงดันเป็นลบต้องแยกออกจากท่อลมสำหรับห้องอื่นของโรงพยาบาล
11.ปริมาณลมดูดเข้าและออกจากห้องผู้ป่วยควรเป็นแบบคงที่
12.พัดลมดูดออกควรเชื่อมระบบให้สัมพันธ์กับพัดลมจ่ายลมเข้าห้อง
- ให้ตัดการทำงานของพัดลมจ่ายเข้าห้องเมื่อพัดลมที่ดูดออกไม่ทำงานพร้อมทั้งมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนว่าระบบดูดอากาศบกพร่อง
13.ระบบต่างๆ ทั้งระบบไฟฟ้าหรือเครื่องกล
- ควรติดตั้งให้สามารถบำรุงรักษาได้โดยง่าย และหากเป็นไปได้ ควรบำรุงรักษาได้จากภายนอกห้องผู้ป่วย
14.ควรมีการติดตั้งป้ายแจ้งเตือนลักษณะห้องให้เห็นชัดเจน
- ควรมีป้ายแจ้งเตือนไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องทำการปิดพัดลมดูดอากาศออกตลอดระยะเวลาที่มีผู้ป่วยพักภายในห้อง
ข้อกำหนดเรื่องแรงดันห้อง (Room Pressure)
- ศูนย์ควบคุม โรคอเมริกา กำหนดให้แรงดันห้องแยกโรคมีค่าต่ำกว่าห้องรอบข้าง ไม่น้อยกว่า 2.5 ปาสคาล หรือ 0.01 นิ้วน้ำ
- ในไทยใช้แรงดันห้อง ANTE อยู่ประมาณน้อยกว่ารอบข้าง 5 ปาสคาล และในห้องแยกโรคน้อยกว่าห้อง ANTE ประมาณ 10-15 ปาสคาล
ความชื้นต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ
ความชื้นของอากาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อต่างๆ ซึ่งเชื้อแต่ละชนิดนั้นจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงของความชื้นที่แตกต่างกันออกไป จากงานวิจัยจะได้ช่วงของความชื้นที่เหมาะสมในการออกแบบคือ ช่วง 40 -60 %RH