ความชื้นและความรู้สึกสบายของมนุษย์
ความชื้นและความรู้สึกสบายของมนุษย์
(Humidity and Human feel comfortable)
ด้วยความที่มนุษย์จำแนกอยู่ในประเภทสัตว์เลือดอุ่น จะต้องรักษาอุณหภูมิของร่ายกายไว้ที่ 37ºC ตลอดเวลา ไม่ว่าอากาศจะหนาวหรือร้อนก็ตาม กลไกในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายคนเรานั้น เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามสภาวะอากาศ ซึ่งมี 3 ลักษณะคือ กระบวนการสร้างความร้อนภายในร่างกายเราเอง กระบวนการรับความร้อนจากบริเวณอากาศรอบข้าง และกระบวนการถ่ายเทความร้อนจากร่างกายเราออกไปสู่อากาศรอบ ๆ กระบวนการดังกล่าวจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่นั่นเอง อาการที่มนุษย์แสดงออกมาเมื่ออยู่ในสภาวะอากาศต่าง ๆ ได้แก่
อาการหนาวสั่น (Shivering)
เกิดขึ้นเมื่อร่างกายกระทบกับความหนาวเย็น กรณีนี้กล้ามเนื้อเกร็งมากกว่าปกติ ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น และอาการสั่นก็มาจากการที่สมองของเราสั่งให้กล้ามเนื้อของเราเสียดสีกันเพื่อให้เกิดความร้อนนั้นเอง


อาการเหงื่อไหล (Sweating)
น้ำในร่างกายระเหยออกสู่ผิวหนัง และเกิดการระเหยสู่อากาศได้น้อยกว่าที่ร่างกายความต้องการที่จะระบายความร้อน ทำให้เกิดการระเหยของเหงื่อไม่ทันจนสะสมเกิดเป็นหยดเหงื่อ อาการดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาวะอากาศร้อนหรือชื้น


อาการขนลุก (Goose Pimples)
เป็นอาการของขนหรือผมตั้งขึ้นเนื่องจากการหดตัวของผิวหนังที่มีปฏิกิริยาต่อบรรยากาศที่(เยือก)เย็นโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความร้อนของร่างกายถ่ายเทออกสู่อากาศภายนอกมากเกินไป ผิวหนังของเราจะหดตัวเพื่อลดพื้นที่สัมผัสกับความเย็นและการหดตัวมันทำให้หนังบริเวรนั้นหนาขึ้นเล็กน้อยทำหน้าที่เหมือนฉนวนกันความร้อนของร่างกาย


หัวใจเต้นเร็วขึ้นหรือช้าลง
ในหน้าหนาวร่างกายจะลดการไหลเวียนของเลือกที่ไหลไปสู่แขน ขา มือ เท้า และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนจากร่างกายไปสู่อากาศภายนอก และในทางกลับกันจะเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือดให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มการระบายความร้อนของร่างกายในหน้าร้อน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกสบายของมนุษย์
อุณหภูมิของอากาศ (Air Temperature) เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดต่อความรู้สึกหนาวหรือร้อนของมนุษย์ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญอีก ได้แก่ ความชื้น ความเร็วลมที่ผิวหนัง และค่าการแผ่รังสีความร้อนเฉลี่ย (Mean Radiant Temperature, MRT) ปัจจัยทั้ง 4 ประการ ดังกล่าวนี้ จะมีผลโดยตรงต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนระหว่างร่างกายมนุษย์กับอากาศรอบข้าง
ปัจจัยของอุณหภูมิอากาศ (Air Temperature)
อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำ จะทำให้การถ่ายเทความร้อนระหว่างอากาศรอบ ๆ ร่ายกายเรามากน้อยต่างกันออกไป การถ่ายเทความร้อนประเภทนี้เป็นการถ่ายเทแบบการพาความร้อน (Convection)

ความเร็วลมที่ผิวหนัง (Air Speed)
ลมที่ไหลผ่านร่างกายเราจะแปรผันกับอัตราการสูญเสียความร้อนของร่างกายเรามากขึ้น นั่นหมายความว่ายิ่งลมไหลผ่านผิวหน้าเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งสูญเสียความร้อนมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามหากอุณหภูมิของอากาศมีค่าสูง ลมที่ไหลผ่านผิวหนังเราจะช่วยให้ร่างกายเราระบายความร้อนได้ดี ทำให้เรารู้สึกเย็นสบายมากขึ้น แต่หากเราอยู่ ณ บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ ลมนั้นก็จะทำให้เราหนาวสะท้านมากขึ้นไปอีก เปรียบเสมือนว่าเราอยู่ในอากาศที่เย็นยิ่งกว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น หากเราอยู่ในอากาศที่มีอุณหภูมิ 1.7ºC และมีลมพัดไหลผ่านตัวเราที่ความเร็ว 32 ก.ม./ชม. เราจะมีความรู้สึกที่หนาวเย็นเปรียบเสมือนกับอยู่ภายใต้อุณหภูมิ -11.6ºC โดยไม่มีลม ความเย็นจากลม (Wind Chill) จะช่วยให้เราเย็นสบายมากขึ้นเฉพาะในช่วงหน้าร้อนเท่านั้น


ค่าการแผ่รังสีความร้อนเฉลี่ย (Mean Radiant Temperature, MRT)
M.R.T. คือ ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิที่ผิวของวัตถุรอบข้างที่มีการถ่ายเทความร้อน โดยวิธีการแผ่รังสีความร้อน (Heat Radiation) ปริมาณการถ่ายเทความร้อนแบบการแผ่รังสีนี้ มนุษย์เราจะรู้สึกได้อย่างชัดเจนเมื่ออยู่ใกล้กับวัตถุที่มีความเย็นหรือวัตถุที่มีความร้อนสูง เช่น การผิงไฟใกล้ ๆ หรืออยู่ใกล้กระจกบานใหญ่ที่มีความเย็นในหน้าหนาว ค่า MRT นี้ รวมความไปถึงความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่สร้างความอบอุ่นต่อร่างกายเราด้วยเช่นกัน


ความชื้น (Humidity)
ความชื้นในอากาศมีผลต่ออัตราการระเหยของเหงื่อบริเวณผิวหนัง ซึ่งจะทำให้เกิดความอึดอัดหากเหงื่อระเหยไม่ทัน และเมื่อเหงื่อระเหยเร็วเกินไปขณะที่อากาศแห้ง เราก็จะรู้สึกผิวหนังแห้งและแสบตา

อย่างไรก็ตามปัจจัยในการที่ทำให้เกิดความรู้สึกสบายของมนุษย์นั้น ก็ยังมีอีกหลายอย่างนอกเหนือจากสภาพอากาศรอบ ๆ ตัวแล้ว สภาพแวดล้อมก็มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์เช่นกัน เช่นในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองหนาแน่น บริเวณที่มีกลิ่นอับชื้น หรือบริเวณที่มีเสียงดังรบกวน เป็น ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความในหน้าเว็บนี้ แอดมินจะสรุปเนื้อหาดีดีที่หน้าสนใจลงอย่างต่อเนื่อง ขอบคุณที่ติดตาม หากพบปัญหาหรือข้อสงสัยสามารถแชทสอบถามได้ที่หน้าต่างสีเหลืองด้านล่างขวา

อย่างไรก็ตามปัจจัยในการที่ทำให้เกิดความรู้สึกสบายของมนุษย์นั้น ก็ยังมีอีกหลายอย่างนอกเหนือจากสภาพอากาศรอบ ๆ ตัวแล้ว สภาพแวดล้อมก็มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์เช่นกัน เช่นในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองหนาแน่น บริเวณที่มีกลิ่นอับชื้น หรือบริเวณที่มีเสียงดังรบกวน เป็น ซึ่งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความในหน้าเว็บนี้ แอดมินจะสรุปเนื้อหาดีดีที่หน้าสนใจลงอย่างต่อเนื่อง ขอบคุณที่ติดตาม หากพบปัญหาหรือข้อสงสัยสามารถแชทสอบถามได้ที่หน้าต่างสีเหลืองด้านล่างขวา